มีฝรั่งชาวต่างประเทศคนหนึ่ง มีเมียเป็นคนชาวอีสาน เมียนั้นชอบกินส้มตำมากชอบเป็นชีวิตจิตใจ กินเสร็จก็เทเศษเมล็ดพริกรอบๆรั้ว
เม็ดพริกที่ว่านี้วันดีคืนดีเติบโตออกดอกออกผล ให้เมียและครอบครัว แถมมีเพื่อนบ้านได้เก็บกินกันอย่างสบายใจ
วันหนึ่งฝรั่งเดินตลาดสดกับเมีย แล้วเห็นเขาขายพริกกัน ฝรั่งงงครับ ถามว่าพริกนี้เพียงแค่ซื้อไปกินกันในครอบครัวทำไมต้องซื้อ ทำไมไม่ปลูกกินกันเอง คือแบบว่าเพียงเททิ้งข้างรั้ว ฝั่งเห็นพริกงอกงามเก็บกินได้ ถ้าปลูกมันจะขนาดไหน
คนได้ฟังถึงต้องอึ้ง เห็นด้วยกับคำพูดของฝรั่ง
ผมก็ยังอึ้ง กับคำพูดของ ท่านฝรั่งท่านนี้
ผมก็ยังอึ้ง กับคำพูดของ ท่านฝรั่งท่านนี้
ตั้่งแต่นั้นมา ผมเริ่มปลูกพริก และปลูกลงในกระถางแทนที่จะปลูกไม้ดอกไม้ประดับอย่างเดียวปลูกพริกด้วย 3 - 4 กระถางเท่านั้น 5 ปีผ่านไปแล้วไม่เคยซื้อพริกเลย โดยพริกที่ผมปลูกจะเป็นจำพวกพริกขี้หนู และพริกเครือ
เดี๋ยวนี้ ผมไม่ได้ปลูกพริกกินคนเดียวแล้ว เพราะกินไม่ทัน พริกสุกแดงเต็มต้นเลย
ก็เลยมี โปรเจกต์แรก ซื้อถุงดำมาเพาะพริกเสียเลย แล้วนำพันธุ์ไปแจกฟรีเพื่อนบ้าน และเพื่อนในสำนักงาน ผลตอบรับนะหรือ
ทุกคนดีใจ เหมือนปลากัดเห็นยุง มีความสุขจังกับการให้
ถ้าใครดูแลไม่ดี จีมีการปรับเป็น ถุงดำและดินปลูก เพื่อนำมาขยายให้มากขึ้น
เดี๋ยวนี้ ผมไม่ได้ปลูกพริกกินคนเดียวแล้ว เพราะกินไม่ทัน พริกสุกแดงเต็มต้นเลย
ก็เลยมี โปรเจกต์แรก ซื้อถุงดำมาเพาะพริกเสียเลย แล้วนำพันธุ์ไปแจกฟรีเพื่อนบ้าน และเพื่อนในสำนักงาน ผลตอบรับนะหรือ
ทุกคนดีใจ เหมือนปลากัดเห็นยุง มีความสุขจังกับการให้
ถ้าใครดูแลไม่ดี จีมีการปรับเป็น ถุงดำและดินปลูก เพื่อนำมาขยายให้มากขึ้น
พริกที่ผมเพาะแจก เห็นแล้วอยากกัด |
วันไหนมีกับข้าวที่ต้องใช้พริกสดกินด้วย ยกกระถางพริกตั้งวงได้ ไหนๆ ก็พูดเรื่องพริกนำเอาความรู้เรื่องพริกมาฝากกัน นำมาจาก เว็บไซต์ http://www.surin.rmuti.ac.th เขาว่าดังนี้
พริกจัดว่าเป็นพืชผักที่มีความ สำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย เพราะในชีวิต ประจำวันของคนไทย สามารถจะกล่าวได้ว่าทุกครอบครัว ทุกคนจะต้องใช้พริกในการประกอบอาหารนอกจากนั้นยังนำไป เข้าโรงงานอุตสาหกรรมได้ คือ ซอสพริก และยังนำไปประกอบอาหารให้มีรสเผ็ด ซึ่งคนไทยจะขาดเสียมิได้
การปลูกพริกในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดปี ถ้ามีน้ำ อุดมสมบูรณ์ หรือปลูกในฤดูฝนก็ได้ พริก สามารถปลูกได้ทุกภาคทุกจังหวัด ทั้งนี้เนื่องจากพริกมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาและมีการ แพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก จังหวัดที่ปลูก พริกกันเป็นพื้นที่มาก ได้แก่ กาญจนบุรี, ประจวบฯ, เพชรบุรี, สมุทรสาคร, สุโขทัย, สุพรรณบุรี, เชียงราย, น่าน, ลำปาง, เชียงใหม่ ฯลฯ พริกที่ปลูกกันได้แก่ พริกบางช้าง, พริกสันป่าตอง, พริกชี้ฟ้า, พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ เป็นต้น
พันธุ์
ในประเทศไทยพันธุ์พริกที่มีปลูก และรู้จักกันทั่วไป อยู่ในพวกล้มลุก มีอยู่ประมาณ 6 ชนิด
1. พริกบางช้าง ขนาดของผล โตกว่าพริกมัน ผลตรงกลมโคนผลใหญ่ ปลาย เรียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงจัด รสไม่สู่เผ็ด มีเนื้อมาก เมล็ดน้อย อบแห้งสีจะแดงดี
2. พริกขี้หนู มีขนาดต่าง ๆ กัน ผลมีขนาดเล็ก ผลสี เขียว หรือเหลือง พันธุ์ ทั่ว ๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ของท้องถิ่นต่าง ๆ ผล แก่จะมีสีแดง มีรสเผ็ดจัด
3. พริกหยวก ผลโตป้อม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ปลายทู่ไม่เกลี้ยงบุบ เป็นร่อง มีเมล็ดในน้อย ใส้ ใหญ่ สีเขียวแกมเหลือง ผล แก่สุกแดงเป็นมัน รสไม่สู้เผ็ด หรือ เผ็ดน้อย ราคาแพง ปลูกกัน น้อยกว่าพริกอย่างอื่น
4. พริกมัน ผลมันเรียบ ผลตรง กลม และเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร มี เมล็ดในมาก เมื่ออ่อนผลจะมีสีเขียวจัด เวลาแก่เป็นสีแดง รสเผ็ด
5. พริกยักษ์ ผลโตป้อม บริเวณรอบ ๆ ข้อผลเป็นรอยบุ๋ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 เซนติเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร มี เมล็ดในน้อย เนื้อผลหนา สีผลเมื่ออ่อนเขียวจัดเป็นมันเวลาแก่สีแดง รส ไม่เผ็ด ปลูกได้ดีในช่วงเดือนตุลาคม เก็บเกี่ยวประมาณเดือนธันวาคม จะได้ราคาดี
6. พริกสิงคโปร์ ขนาดผลโต เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ปลาย งอหยิก ผิวไม่เรียบ มุมเป็นร่อง ๆ มีเมล็ดน้อย ผลเมื่ออ่อนมีสีเขียวจัด เวลาแก่เป็นสีแดง มีรสเผ็ด
พริก ปลูกได้ตลอดปี ถ้าหากพื้นที่นั่น ๆ มีน้ำอย่างเพียงพอสำหรับพื้นที่ ๆ ไม่อยู่ ในเขตชลประทาน จะปลูกพริกกันในช่วงฤดูฝนจะเริ่มเพาะกล้าประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน และจะย้ายปลูกในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน แต่ถ้าจะปลูกให้ได้ราคาดีที่สุดควรจะปลูกในช่วงเดือนมกราคมถึง กุมภาพันธ์ เพราะพริกสดจะมีราคาสูงสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม พบว่า พริกที่ปลูกในหน้าแล้ง คือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน จะให้ผลเร็วกว่าพวกที่ปลูกในหน้าฝน คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพริกได้แก่ดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์ดี การระบายน้ำดี พริกถ้าปลูกในฤดูฝนจะมีปัญหาว่าเป็นโรคเหี่ยว เนื่อง จากเชื้อรา และบัคเตรีเข้าทำลาย ควร ปลูกพริกหมุนเวียนสลับกับข้าว ถั่ว และพืชอื่น ๆ
การปลูก
การปลูกพริก อาจเลือกปฏิบัติได้ 3 วิธี ตามความเหมาะสม คือ
1. โดยวิธีการใช้เมล็ดพริกหยอดเมล็ดโดยตรงในหลุม หลุมละ 3-5 เมล็ด เมล็ดพริกหวานเปอร์เซ็นต์ความงอก 80% ใช้เมล็ด 60-90 กรัม/ไร่ นิยมปฎิบัติในแปลงปลูกขนาดใหญ่ และ ไม่มีแรงงานเพียงพอในการย้ายต้นกล้า จุดอ่อนของการ ปลูกโดยวิธีนี้คือ ต้นพริกอ่อนแอ อาจ จะถูกมดและแมลงอื่น ๆ กัดกินใบ ทำ ให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ และเสียเวลาในการปลูกซ่อม
2. เพาะเมล็ดพริกให้งอกแล้วนำไปปลูกในหลุม กลบด้วยดินบาง ๆ วิธีเพาะคือ นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำ แล้วเอาผ้า ชุบน้ำหมาด ๆ ห่อ ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน เมล็ดจะงอกแล้วนำไปปลูก
3. เพาะเมล็ดในแปลงเพาะก่อน แปลง เพาะกล้าควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ปริมาณ 100 กรัมต่อตารางเมตร คลุกดินลึกประมาณ 5-8 นิ้ว ควรใช้ฟูราดานในการเพาะด้วยเมื่อหว่านเมล็ดแล้วประมาณ 10 วัน เมล็ดเริ่มงอก ถ้า มีต้นหนาแน่น ให้ถอนแยกหลังจากที่ใบจริงคลี่เต็มที่แล้ว 2-3 วัน เมื่อกล้าอายุได้ 18 วัน รดด้วยปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตละลายน้ำ อัตราส่วน 1 กรัมต่อ น้ำ 200 ซีซี. แล้วรดน้ำตามทันที การ เพาะโดยวิธีเพาะโดยเมล็ดธรรมดาที่ยังไม่งอกวิธีนี้ควรคลุกยาป้องกันกำจัด เชื้อราที่อาจติดมากับเมล็ดก่อนนำเมล็ดไปเพาะได้แก่ ออ ไธไซด์ และในแปลงเพาะควรจะรดด้วยไดโฟลาแทน 80 หรือไดเทน เอ็ม 45 เพื่อป้องกันโรคเน่า
เมื่อกล้าสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงพร้อมจะย้ายปลูกได้ รวมอายุกล้าในแปลงเพาะสำหรับการเพาะโดยเมล็ดที่งอกแล้วประมาณ 30 วัน และเพาะโดยเมล็ดธรรมดาประมาณ 40 วัน
ในบางแห่งปลูกโดยการย้ายกล้า 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น โดยทำการย้ายกล้าครั้งที่ 1 เมื่อกล้าโตมีใบจริง 2 ใบ ย้ายชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงใหม่ให้มีระยะห่าง 10-15 ซม. ในการย้ายกล้านี้ต้องทำอย่างระมัดระวัง พยายามให้รากติดต้นมากที่สุดก่อนย้ายปลูกในแปลงใหม่ ควรจะรดน้ำแปลงเพาะให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 1 ชม. แล้วใช้ไม้หรือปลายมีดพรวนดินให้ร่วน ค่อย ๆ ถอนต้นกล้า อายุในการชำในแปลงใหม่ 15-20 วัน หรือสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงย้ายปลูกได้ เพื่อให้ได้ต้น กล้าที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม ทำได้โดยการฉีดพ่นสารละลายของน้ำตาลเข้มขน 10% คือใช้น้ำตาลทราย 10 ส่วน เติมน้ำลงไปอีก 90 ส่วน ฉีดทุก ๆ 3 วัน เป็นเวลา 2 อาทิตย์ก่อนย้ายปลูก ก่อนทำการฉีดสารละลายน้ำตาลทรายนี้ต้องทำให้ใบพริกเปียกน้ำให้ทั่ว เพื่อให้ใบดูดซึมน้ำตาลได้เป็นปริมาณสูง
การเตรียมดิน
ทำการย้ายปลูก เมื่อกล้าสูงประมาณ 6 นิ้ว เตรียมดินแปลงปลูก โดย ไถดะตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ไถพรวน 1 ครั้ง หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้ทั่วแปลงในอัตรา 3-4 ตัน/ไร่ ใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่ปลูก แล้วพรวนกลบเข้ากับดินแล้วจึงเตรียมแปลงปลูกการเตรียมแปลงปลูก สามารถทำได้หลายแบบ แล้วแต่สภาพ ของพื้นที่ปลูกดังนี้คือ
1. ปลูกแบบไม่ยกแปลง เหมาะ สำหรับพื้นที่ ๆ มีการระบายน้ำดี ปรับ ระดับได้สม่ำเสมอ การปลูกแบบนี้อาจปลูกเป็นแถวเดียว ใช้ระยะห่างระหว่างแถว 60-70 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม. หรือปลูกเป็นแถวคู่ ระยะระหว่างแถวคู่ 1 เมตร ระหว่างแถว 50 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม.
2. ปลูกแบบยกแปลง เหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ระบาย น้ำดอกได้ยาก ขนาดแปลงกว้าง 1.50 เมตร ร่องน้ำกว้าง 50 ซม. ลึก 50 ซม. ปลูก 2 แถว บนแปลง โดยมี ระยะห่างแถว 0.75-1.00 เมตร ระหว่างต้น 50 ซม. หรือปลูกเป็นแถวคู่ 1 เมตร ระหว่างแถว 50 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม.
การปฎิบัติบำรุงรักษา
พริกเป็นพืชที่ทนแล้งดีกว่าทนน้ำ แต่ในระยะที่พริกเริ่ม ออกดอก พริกจะต้องการน้ำมากกว่าปกติ พบว่า การให้น้ำที่ไม่เพียงพอ และอากาศแห้งแล้งจะทำให้ดอกอ่อน ดอก บาน และผลอ่อนที่เพิ่งติดร่วงได้ ใน สภาพที่อากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-15 ซํ. จะทำให้พริกเจริญเติบโตไม่ค่อยดี มีการติดดอกต่ำ และดอกร่วงในที่สุด การให้น้ำควรจะลดลง หรืองดในช่วงที่เริ่มทำการเก็บผลพริก ทั้งนี้เพราะถ้าให้น้ำพริกมากไป จะทำให้ผลมีสีไม่สวย
1. การให้น้ำ หลังจากปลูกควรให้น้ำดังนี้
- ช่วง 3 วันแรก ให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น
- ช่วง 4 วันต่อมา ให้น้ำวันละครั้ง
- ช่วงสัปดาห์ที่ 2 ถึงสัปดาห์ที่ 4 ให้ น้ำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
- ช่วงสัปดาห์ที่ 5 ถึงสัปดาห์ที่ 7 ให้ น้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
- ช่วงสัปดาห์ที่ 7 ไปแล้วให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ การให้น้ำแก่พริกควรให้ ตาม สภาพพื้นที่ และดูความชุ่มชื้นของดินประกอบด้วย
ส่วนทางภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เช่น เขตอำเภอยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ ให้น้ำทุกวัน ส่วนช่วงเดือนเมษายน ถ้าร้อนมากหรือแห้งแล้งมากอาจต้องให้น้ำวันละ 2 ครั้ง (เหมาะสมกับเกษตรกรผู้ที่ปลูกพริกไม่มาก)
2. การใส่ปุ๋ย การให้ปุ๋ยพริกขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของดินปลูกโดยทั่วไป ปุ๋ย คอก อัตรา 3-4 ตันต่อไร่ ผสมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 15-15-15 อัตรา 50 กก.ต่อไร่ รองพื้นก่อนย้ายปลูกและหลังย้ายปลูกแล้ว 1 เดือน จึงใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่ อีกครั้งหนึ่ง วิธี ใส่โดยโรยกึ่งกลางระหว่างแถวปลูกแล้วพรวนกลบ ในระยะนี้เป็นระยะที่พริกเริ่มจะมีตาดอก (แต่ ยังไม่ออกดอก) มีความต้องการธาตุอาหารเสริมบ้าง ดังนั้นหลังจากใส่ปุ๋ยแล้ว 1-2 อาทิตย์ ควรฉีดปุ๋ยน้ำ เช่น ไบโฟลาน ให้ทางใบ ซึ่งพริกจะนำไปใช้ได้เร็วขึ้น ปุ๋ยน้ำที่ ฉีดให้ทางใบนี้ควรให้ทุกครั้งหลังจากเก็บเกี่ยว โดย ฉีดผสมไปกับยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช
3. การพรวนดิน เนื่อง จากพริกจะแพร่รากกระจายอยู่ใกล้ผิวดิน จึงต้องระวัง อย่าให้รากกระทบกระเทือน เพราะจะชงักการเจริญเติบโต จะทำให้ต้นพริกโค่นล้มง่าย การให้ปุ๋ยควรขุดหลุมตามบริเวณกว้างของใบพริกที่แผ่ไปถึง อย่าใส่ชิดโคนต้น
4. การ เก็บเกี่ยว พริกจะเริ่มให้ผลผลิตหลังจากย้ายปลูกแล้ว 2 เดือนครึ่ง ถึง 3 เดือน ในระยะแรกผลผลิตจะได้น้อยและจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เก็บเกี่ยวอาทิตย์ละ 1 ครั้งผลผลิตจะเริ่มลดลงเมื่อพริกเริ่มแก่ เมื่อ พริกอายุได้ 6-7 เดือน หลังย้ายปลูกต้นจะเริ่มโทรมและหยุดให้ผลผลิต แต่ถ้ามีการดูแลบำรุงรักษาดีพริกจะมีอายุถึง 1 ปี
5. การ เก็บรักษา ผล พริกเมื่อแก่จัด จะยังคงทิ้งให้อยู่กับต้นได้อีกชั่วระยะหนึ่ง โดย ไม่เสื่อมคุณภาพแต่ประการใด การเก็บรักษาพริกให้คง สภาพสดอยู่ได้ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ พบว่าอุณหภูมิ 0 ซํ. ความขึ้น 95-89% จะเก็บพริกให้คงความสดอยู่ได้นานถึง 40 วัน โดยมีผลเหี่ยวย่นเพียง 4% ซึ่งนับว่า ต่ำมาก เมื่อเทียบกับการเก็บพืชผักหลายชนิด และอุณหภูมิ 8-10 ซํ. ความชื้น 85-90% จะเก็บพริกสดไว้ได้นาน 8-10 วัน
6. การทำ พริกตามแห้ง พริกที่จะนำมาตากแห้งต้องเก็บผลแก่จัด มีสี แดง ถ้าเก็บมาแล้วมีบางผลที่ยังไม่แก่ควรนำมาสุ่มไว้ในเข่งประมาณ 2 ค้น เพื่อบ่มให้ผลสุกแดง แล้ว จึงนำออกตากแดดให้แห้งสนิท ควรเลือกผลที่เน่าออก ทิ้งอยู่เสมอ ข้อควรระวังบอ ย่าให้พริกที่ต้องการทำพริกแห้งถูกฝน จะทำให้เกิด โรครา ราคาตกได้กสิกรบางแห่งนิยมย่างไฟ โดยการย่างพริกไว้บนแผงหรือตะแกรงแล้วสุมไฟข้างล่าง กลับพริกให้แห้งทั่วกัน จะทำให้พริก แห้งเร็วขึ้น เก็บไว้ได้นานไม่เสียง่าย
*******
มาเยี่ยมที่บ้านไม่ได้ปลูกขึ้นเอง 555
ตอบลบhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/184406