วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จัสมินไรซ์: การผจญภัยของข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐอเมริกา เรื่อง อวยพร แต้ชูตระกูล

 ข้าว แม่โพสพ

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

       ข้าว ที่เราเราทราบกันว่า เป็นแม่โพสพ เป็นของมีคุณ เป็นพืชที่เลี้ยงชีวิตเผ่าพันธุ์ไทยยั่งยืนมาแต่โบราณกาลจนสืบเชื้อสายอยู่ มากมายในปัจจุบัน เมื่อใดที่อยู่ในสภาพ "ข้าวเหลือเกลืออิ่ม" ประชาชนก็จะมีความสงบสุข แต่เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนก็จะหน้าดำคร่ำเครียดด้วยความทุกข์ ในเมื่อข้าวมีความสำคัญต่อชีวิตคนไทย คนไทยจึงมีความกตัญญูต่อข้าว ยกย่องข้าวเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าในข้าวมีวิญญาณ ข้าวเรียกว่า "แม่โพสพ" สถิตอยู่ 

     ฉะนั้นผู้เฒ่าผู้แก่จึงสั่งสอนว่ามิให้เหยียบย่ำข้าว มิให้สาดข้าวหรือทำข้าวหก กินข้าวเสร็จแล้วก็สอนให้ไหว้แม่โพสพขอบคุณ แม้การมหรสพของชาวบ้านยามเมื่อร้องบทไหว้ครูก็จะมีการร้องระลึกคุณแม่โพสพ  ข้าวหอมมะลิ แม่โพสพของเรา เนื้อตัวสวย กลิ่นกายหอม ได้ไปปรากฏกายให้ชาวต่างชาติดูความงาม เห็นแล้วต้องการแสดงความเป็นเจ้าของ แสดงความเห็นแก่ตัว  กักขังไว้ไม่ให้กลับไทย เพื่อทำหน้าที่ของแม่ที่จะเลี้ยงลูกทั้งโลก เราจะช่วยแม่กลับบ้านอย่างไร  คุณอวยพร แต้ชูตระกูล  เขียนไว้ อ่านจบแล้วส่งสารแม่จับใจครับ  แม่รู้ไหมว่า ลูกๆ ของแม่มัวทะเลาะกัน จะช่วยแม่อย่างไร

จัสมินไรซ์: การผจญภัยของข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐอเมริกา


เรื่องโดย อวยพร แต้ชูตระกูล


       เรื่องราวการผจญภัยของข้าวหอมมะลิไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา กลายเป็นตำนานที่บทอวสารไม่ได้สร้างความประทับใจให้กับท่านผู้ชมคนไทยแม้แต่ น้อย
       ปี 2541 คนไทยต้องตกตะลึงกันทั่วหน้า เมื่อรู้ว่า “จัสมาติ” ไม่ได้หมายถึง “ข้าวหอมมะลิของไทย” แต่หมายถึงข้าวสายพันธุ์อื่นที่ปลูกในรัฐเท็กซัส โดยบริษัทไรซ์เทคแห่งสหรัฐอเมริกาได้จดชื่อดังกล่าวเป็นเครื่องหมายทางการ ค้า นำมาซึ่งความเคลื่อนไหวขององค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย หรือไบโอไทย ที่ติดตามเรื่องนี้มาตลอด โดยระบุว่า การใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าว่า จัสมาติ เป็นความจงใจที่ต้องการหลอกลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า ข้าวพันธุ์ดังกล่าวเป็นข้าวหอมมะลิ (Jasmine) ซึ่งประเทศไทยมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลกว่า ข้าวหอมมะลิไทยเป็นข้าวพันธุ์ดีที่สุดในโลก และครองตลชาดสหรัฐอเมริกาได้ถึงร้อยละ 75 ของข้าวที่นำเข้าทั้งหมด
       แต่สิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ของไทยดำเนินก็คือ หันไปจดชื่อเครื่องหมายทางการค้า “หอมมะลิไรซ์” แทน โดยอ้างว่าหากดำเนินการฟ้องร้องต่อบริษัทไรซ์เทค ก็ไม่มีทางที่จะชนะ อีกทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายถึง 20 ล้านบาท
       ต่อมาปี 2544 ข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ก็สร้างความตื่นตระหนกให้เกษตรกรไทยอีกครั้ง เมื่อรายงานข่าวว่า นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวชาวอเมริกันชื่อ ดร.คริส เดเรน ใกล้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่ปลูกในสหรัฐอเมริกา ได้ หลังจากที่เริ่มวิจัยมากว่า 5 ปี ด้วยวิธีการทำให้ยีนของข้าวหอมมะลิกลายพันธุ์ และการผสมข้ามพันธุ์ ทำให้กลายเป็นข้าวลำต้นเตี้ย ตั้งท้องและออกรวงเร็วกว่าข้าวหอมมะลิเดิม
       การถอนเครื่องหมายทางการค้าจึงกลายเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องของเกษตรกรไทย ที่มีต่อสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับการเรียกร้องให้ยุติความพยายามในการจดสิทธิบัตรในพันธุ์ข้าวและ พันธุ์พืชจากประเทศโลกที่สาม ภายหลังจากทราบแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ข้าวต้นกำเนิดว่ามาจากจากสถาบัน วิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Institute: IRRI) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไทยได้ส่งเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวหอมมะลิไปเก็บไว้เป็นตัวอย่างที่ 850 ซึ่ง ดร.เจ นีล รัตเกอร์ ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวดังกล่าวไปจาก IRRI โดยมี ดร.คริส เดเรน เป็นผู้นำเมล็ดพันธุ์ไปอีกทอดหนึ่ง ทั้งนี้ไม่มีการลงนามในเอกสารส่งมอบพันธุ์ข้าวแต่อย่างใด
       แม้จะปรากฏความพยายามจากกระทรวงพาณิชย์ของไทยในการร่างเอกสารส่งมอบ พันธุ์ข้าว พร้อมระบุว่าห้ามจดสิทธิบัตรพันธุ์ข้าวไทย และห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ ดร.คริส เดเรน ร่วมลงนาม แต่ก็ไร้ซึ่งการตอบรับ

       บทเรียนนี้น่าคิดถึงท่าทีและความกระตือรือร้นของประเทศมหามิตรอย่างสหรัฐ อเมริกาที่มีต่อข้อเรียกร้องเพื่อขอความร่วมมือจากประเทศไทยตลอดระยะเวลา หลายปีเพื่อปกป้องข้าวหอมมะลิของไทย ซึ่งแน่นอนว่าหากนำไปเปรียบเทียบกับความพยายามกดดันให้ประเทศไทยทำตามข้อ เรียกร้องของสหรัฐอเมริกาในการไล่ล่าจับกุมสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ก็คงจะได้คำตอบแห่งความไม่เท่าเทียมกันอย่างสิ้นเชิง
*******
ที่มา นิตยสารโลกสีเขียว ฉบับพฤษภาคม – มิถุนายน 2547 
http://www.greenworld.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น