วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

HAIR CUT หนี้

 HAIR CUT หนี้ 
โดย ชูชาติ คงครองธรรม 


       ขอนำเสนอเป็นเรื่องของคุณปุง ชมยิ่ง  ที่เป็นหนี้ของธนาคารกรุงไทยประมาณ  60,000 บาท และได้รับหมายศาลซึ่งคุณปุงก็เป็นประชาชนอีกท่านหนึ่งที่ไม่มีความรู้ในด้าน กฎหมายเมื่อได้รับหมายศาลแล้วก็ไมทราบว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร
      ซึ่งเรื่องนี้ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคมีคำอธิบายให้ดังนี้  เมื่อมีหมายศาลมาถึงบ้านประการแรกให้ตรวจสอบรายละเอียดในหมายศาลว่าจะต้อง ฟ้องที่ศาลไหน กำหนดวันขึ้นศาลเมื่อไร ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับยอดหนี้ของคุณที่ทางเจ้าหนี้ยื่นฟ้องว่ามีมูล หนี้เท่าไหร่ เงินต้นเท่าไรยอดฟ้องบวกดอกเบี้ยเป็นเงินกี่บาท  ขั้นต่อมาก็ต้องตรวจสอบดูว่าทางเจ้าหนี้ฟ้องเกินอายุความหรือไม่ นั่นคือเป็นบัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปี นับจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้าย และจะต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการสู้คดีอย่างไรหรือจะทำการต่อรองกับทางเจ้า หนี้อย่างไร
       หลังจากตรวจสอบรายละเอียดของหมายศาลแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือ เลือก วิธีแก้ปัญหาอย่างไรต่อไป  เช่นในกรณีที่ต้องการระยะเวลาในการเก็บเงินก็ต้องยื่นคำให้การต่อสู้หรืออาจ จะไปไกล่เกลี่ยในวันที่ศาลนัดโดยขอผ่อนชำระเป็นงวดและขอให้หยุดดอกเบี้ยใน ระหว่างการชำระหนี้และให้ทำบันทึกโจทก์- จำเลย ที่ศาล โดยระบุจำนวนงวดที่จะต้องชำระและการชำระเงินก็จะต้องจ่ายบัญชีเจ้าหนี้เท่า นั้น
        บางคนอาจสงสัยว่า คำให้การ คืออะไร ก็ขออธิบายในตอนนี้เลยว่า  เป็น การทำข้อมูลแก้ต่างเพื่อแสดงรายละเอียดหักล้างหรือยกข้อต่อสู้ เพื่อหักล้างตามที่เจ้าหนี้ยื่นฟ้องมานั่นเอง โดยอาจจะให้ทนายยื่นคำให้การต่อสู้ในศาล / หรือผู้ร้องสามารถเขียนเป็นถ้อยคำข้อเท็จจริง
         ในขั้นตอนสุดท้าย  เพราะคุณจะสามารถยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอีกประมาณ 6 เดือน- 1 ปี  เพื่อจะได้มีระยะเวลาในการเก็บเงิน คุณสามารถเจรจากับทางเจ้าหนี้ได้เพื่อปิดบัญชีหนี้ก่อนขึ้นศาลได้ กรณีที่คุณมีเงินก้อนที่เก็บไว้เมื่อคุณหยุดชำระหนี้  หากคุณสามารถนำเงินก้อนมาปิดได้ก็ควรทำ  ซึ่งในกรณีนี้เราเรียกว่า  HAIR  CUT   แต่ก็ต้องให้ทางเจ้าหนี้ออกจดหมายยืนยันการปรับลดยอดหนี้และระบุวันที่ชำระ หนี้ หลังจากนั้นก็ให้ทางธนาคารออกหนังสือยืนยันยอดหนี้และระบุวันที่ชำระหนี้  หลังจากนั้นก็ให้ธนาคารออกหนังสือยืนยันยอดหนี้ให้เป็น ศูนย์  แต่จะต้องได้รับจดหมายยืนยันการปรับลดยอดหนี้ก่อนที่จะชำระหนี้  ถ้าไม่มีใบปรับลดยอดหนี้ห้ามชำระหรือโอนเงินเข้าไปเป็นอันขาด
         สุดท้ายนี้ผู้เขียนหวังว่าผู้ที่อ่านและไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมายจะได้ ประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย เพื่อที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเมื่อมีหมายศาลมาถึงบ้านคุณ
********
แหล่งข้อมูลจาก http://www.consumerthai.org

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

ทำประกันทางโทรศัพท์ ระวังอย่าปัดความรำคาญด้วยคำว่า ตกลง

 ทำประกันทางโทรศัพท์ ระวังอย่าปัดความรำคาญด้วยคำว่า ตกลง
โดย ชูชาติ คงครองธรรม 


         เรื่องที่มีคนสอบถามกันมามากพอสมควรถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องของบัตรเครดิตโดย ตรง แต่ข้อมูลที่พวกนี้ได้มาก็ได้มาจากบัตรเครดิตและเรื่องที่จะกล่าวถึงใน วันนี้ก็คือเรื่อง การทำประกันทางโทรศัพท์
       มีบริการอยู่ชนิดหนึ่งที่มักจะถูกเสนอขายทางโทรศัพท์ ก็คือ การขายประกัน ซึ่งผู้ที่ถูกเสนอมักจะเป็นผู้ถือบัตรเครดิต ซึ่งพวกบริษัทประกันจะได้ข้อมูลลูกค้าจากบริษัทผู้ให้บริการบัตรเครดิต  และจะมีการเชิญชวนให้ซื้อประกัน

         ลักษณะการขายประกัน
         การขายประกันที่นิยมกันมากน่าจะเป็นประกันเกี่ยวกับการประกันอุบัติเหตุและประกันชีวิต โดย
ที่ผู้ รับโทรศัพท์มักจะได้รับการพูดจาหว่านล้อม ว่าการซื้อประกันทางโทรศัพท์เบี้ยประกันจะต่ำประมาณ 100-200 บาทและจะได้รับเงินถึง 100,000-500,000 บาท  บริษัทประกันหลายรายใช้โทรศัพท์เข้าไปที่เบอร์ของผู้บริโภคและชักชวนให้ทำประกันชีวิต  โดยการอ้างถึงสิทธิประโยชน์มากมาย เมื่อ ผู้บริโภคเกิดความรำคาญอาจจะตัดบทไปว่า ตกลง ครับหรือ ค่ะ เพียงแค่คำเดียวเท่านั้นก็จะมีการบันทึกเสียงเอาไว้ว่าผู้บริโภครายนั้นได้ สมัครบริการประกันชีวิตแล้ว
        เพราะฉะนั้นจงจำไว้ว่าอย่าตอบรับโดยใช้คำว่า สนใจหรือตกลง เพราะจะถือว่าสัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว ขอให้ยืนยันคำเดียวง่าย ๆ ว่า ไม่ หรือ อาจจะให้เขาส่งตัวแทนมาพบเพื่อให้อธิบายผลประโยชน์ต่าง ๆ จะดีกว่าถ้าเราสนใจอย่าเพิ่งไปรับปาก  แต่ถ้าหากมีการตอบตกลงไปแล้วเราจะมีวิธีการทำอะไรได้บ้างสำหรับผู้บริโภค
         ยกเลิกประกันทำอย่างไร
         อย่าลืมครับว่าผู้บริโภคมีสิทธิที่จะปฏิเสธได้หรือบอกยกเลิกสัญญาได้หากไม่ได้รับกรมธรรม์  หรือไม่พึงพอใจภายใน 15 วัน ซึ่งผู้รับอาจจะทำเป็นจดหมายแบบตอบรับทางไปรษณีย์ก็ได้และทำสำเนาไว้เป็นหลักฐาน ที่ต้องทำอย่างนี้ก็เพราะเหตุว่า เมื่อคุณตอบตกลงไปแล้วและเปลี่ยนใจจะขอยกเลิกคุณจะไม่สามารถติดต่อกลับได้เลย
         นอกจากนี้ยังมีพวกแก็งค์มิจฉาชีพหลอกขายประกันทางโทรศัพท์มากมายโดยอ้าง การเก็บเบี้ยถูก คุ้มครองสูง แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วกับเคลมประกันไม่ได้หรือติดต่อไม่ได้ ลองคิดดูว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นหน้าตาคุณก็ไม่เคยเห็น สำนักงานอยู่ไหนก็ไม่รู้ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นใครจะจัดการให้กับคุณ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินใจตอบรับควรขอกรมธรรม์มาศึกษาดูก่อน 15 วัน หากไม่พอใจสามารถยกเลิกได้  ย้ำต้องทราบข้อมูลของตัวแทนขายให้ละเอียด ถ้าไม่แน่ใจโทรเช็ค 1186 สายด่วนประกันภัย ของ คปภ. เพื่อความชัวร์นะครั
*******
รวมมิตรจาก http://www.consumerthai.org

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

สิทธิผู้บริโภคไทย...ทำไมไม่เทียมเท่าสากล

      สิทธิผู้บริโภคไทย...ทำไมไม่เทียมเท่าสากล 

Webmaster Consumerthai

 

        สิทธิเป็นสิ่งใครก็ต้องการแต่หาทราบไม่ว่า สิทธิย่อมควบคู่กับหน้าที่ คำว่า สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ทีกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ เช่น สิทธิที่จะอยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ ปราศจากสภาวะที่เป็นพิษ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร เป็นต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าสิทธิมีขึ้นตามที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง การคุ้มครองผู้บริโภคของไทยได้ให้ความสำคัญเรื่องสิทธิผู้บริโภค โดยมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 57 วรรคหนึ่งว่า สิทธิผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541 ได้รับรองสิทธิผู้บริโภคไว้ 5 ประการคือ 

    สิทธิผู้บริโภคไทย

  1. สิทธิที่จะได้รับข่าว สารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่สิทธิที่จะได้รับการโฆษณา หรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ อย่างถูกต้องเพียงพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าและรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
  2. สิทธิที่จะมีอิสระในการ เลือกหาสินค้าหรือบริการได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภคและ ปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
  3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจาก การใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าและบริการนั้นแล้ว
  4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
  5. สิทธิ ที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดเชยความเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ตามข้อ 1 , 2 ,3 และ 4 ดังกล่าว

     การ คุ้มครองผู้บริโภคในระดับสากลได้มีการรับรองสิทธิผู้บริโภคไว้โดย สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers Internationnal หรือ CI ) ซึ่งมีความครอบคลุมในการคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่าสิทธิผู้บริโภคของไทย ซึ่งได้รับรองสิทธิผู้บริโภคสากลไว้ 8 ข้อ คือ


    สิทธิผู้บริโภคสากล

  1. สิทธิ ที่จะเข้าถึงสินค้าและบริการที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน ( The right to basic need ) เช่น ยา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การดูแลสุขภาพ การศึกษาและสุขาภิบาล
  2. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ ( The right to safety)
  3. สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนที่จำเป็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ(The right to be information )
  4. สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการได้อย่างอิสระ ( The right to choose )
  5. สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม ( The right to be heard )
  6. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและค่าชดเชยความเสียหาย ( The right to redress)
  7. สิทธิที่จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริโภค ( The right to consumer education )
  8. สิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย ( The right to healthy environment )

    จาก ความแตกต่างในการรับรองสิทธิผู้บริโภคของไทยและสากลองค์กรเอกชนที่ ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในไทยจึงเสนอให้มีการเพิ่มเติมสิทธิผู้บริโภคจาก เดิม เนื่องจากจากประสบการณ์ในการทำงานทำให้พบข้อสรุปว่ากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ในไทยยังรับรองสิทธิของผู้บริโภคไว้จำกัดเกินไป และไม่เท่าทันสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภค หากมีการเพิ่มเติมสิทธิผู้บริโภคในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคของไทย จะเป็นการขยายขอบเขตสิทธิของ ผู้บริโภคให้ครอบคลุมจะทำให้สถานภาพ บทบาทและโอกาสในการแสดงพลังของผู้บริโภคมีมากขึ้น ขณะเดียวกัน คนไทยก็จะได้รับหลักประกันโอกาสในการเข้าถึงปัจจัยสี่อย่างเสมอหน้า ซึ่งได้เสนอสิทธิเพิ่มเติม 7 ข้อได้แก่

  1. สิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นในฐานะผู้บริโภคหรือผู้แทนกลุ่มผู้บริโภคในการกำหนดกฎเกณฑ์ มาตรการ หรือ นโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
  2. สิทธิที่จะรวมตัวกันเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภค
  3. สิทธิที่จะได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
  4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมจากโฆษณาและสื่อสารมวลชน
  5. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการพิสูจน์ความผิด ภาระในการพิสูจน์ความผิดเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ
  6. สิทธิในการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับสาธารณะเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
  7. สิทธิ ที่จะได้รับสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอันได้แก่ ยา เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การดูแลสุขภาพ การศึกษาและสุขาภิบาล
*******
รวมมิตรจาก http://www.consumerthai.org

การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

 การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
 ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ
 
       นับตั้งแต่ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการรวมตัวกัน ภายหลังการประกาศปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) และการก่อตั้งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Nations) เป็นต้นมาประเทศสมาชิกอาเซียนต่างได้รับประโยชน์จากความร่วมมือที่ช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ และสามารถเพิ่มอำนาจต่อรองกับประชาคมอื่นๆในโลกให้สูงขึ้น แม้จะเป็นเพียงการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ก็ตามภายหลังการรับรองเอกสาร “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) ในปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ.1997) เพื่อพัฒนาอาเซียนไปสู่ “ประชาคมอาเซียน”(ASEANCommunity) ให้เป็นผลสำเร็จภายในปี 2563(ค.ศ. 2020) และเห็นชอบให้มีการร่าง “กฎบัตรอาเซียน” เพื่อเป็น“ธรรมนูญ” การบริหารปกครองกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ตลอดจนการประชุมสุดยอดอาเซียนในปี พ.ศ.2550(ค.ศ.2007) ที่มีความตกลงให้เร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นอีก 5 ปี คือ ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) ซึ่งมีการลงนามรับรอง “ร่างกฎบัตรอาเซียน” (ASEAN Charter) เพื่อใช้เป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันที่เน้นความยึดมั่นในหลักการแห่งประชาธิปไตยหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล การเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ที่จะนำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนดังคำขวัญที่ว่า “One Vision, One Identity, One Community” ส่งผลให้เกิดความพยายามในการขับเคลื่อน และเตรียมการเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ให้ทันตามกำหนดเวลาดังกล่าวในทุกมิติอย่างเป็นรูปธรรมและจริงจังมากยิ่งขึ้น


         การศึกษามีหน้าที่โดยตรงที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนและเตรียมการเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนให้ทันตามกำหนด ในกรอบความร่วมมือของประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก (Three Pillars of ASEANCommunity) ซึ่งประกอบด้วยประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC)ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC)และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาสังคมและวัฒนธรรม (ASEANSocio-Cultural Community - ASCC) อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในฐานะหน่วยวิจัยและพัฒนานโยบายและแผนการศึกษาของชาติ จำเป็นที่จะต้องมีความตระหนักรู้และมีความพร้อมในการกำหนดนโยบายเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ที่สอดคล้องกับนโยบายในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ที่มุ่งสร้างคนไทยยุคใหม่ให้มีความรู้ความดี และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ซึ่งหมายรวมถึงการจัดการศึกษาเพื่อให้คนไทยมีความพร้อมที่จะเป็นพลเมืองอาเซียนที่สามารถแข่งขันได้และอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านอย่างสันติสุข ตลอดจนเป็นต้นแบบการดำเนินการเพื่อขยายผลความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ในภูมิภาคเดียวกันอีกด้วย ดังนั้นการให้ความรู้แก่ข้าราชการ บุคลากร และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการเตรียมการเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนจึงเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นเป้าประสงค์หลักในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ เพื่อประโยชน์ในการปูพื้นฐาน สร้างความรู้ความเข้าใจให้นักการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องให้เกิดความตื่นตัว และมีความพร้อมในเบื้องต้นเพื่อจับมือก้าวสู่ประชาคมอาเซียนไปพร้อมกัน
*******
รวมแหล่งความรู้จาก  การบรรยายทางวิชาการเพื่อสร้างความตระหนัก เรื่อง การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน รายละเอียด http://www.onec.go.th

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

ชีวิตใหม่

ชีวิตใหม่
โดย รินใจ 


       มารคมีธุระด่วนต้องเดินทางจากเชียงใหม่ลงมากรุงเทพ ฯ เผอิญเพื่อนสนิทซึ่งมีเครื่องบินส่วนตัวก็กำลังจะลงมากรุงเทพ ฯ เช่นกัน จึงชวนมารคนั่งเครื่องบินลงมาด้วยกัน
        เครื่องบินเล็กทะยานขึ้นฟ้าได้ไม่ถึงสิบนาที เครื่องก็ดับ เพื่อนซึ่งเป็นนักบินพยายามสตาร์ตเท่าไรก็ไม่ติด ชั่วขณะนั้นเองมารคตระหนักว่าวาระสุดท้ายของเขาใกล้มาถึงแล้ว คำถามตอนนั้นไม่ได้อยู่ที่ว่าเขาและเพื่อนจะรอดหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าทำอย่างไรผู้คนข้างล่างจะไม่พลอยรับเคราะห์ไปพร้อมกับทั้งสอง คนด้วย
        เมื่อรู้ว่าตัวเองคงไม่รอดแน่แล้ว มารคทำใจยอมรับความตายโดยดุษณี เขาแปลกใจที่พบว่าจิตใจสงบนิ่งมาก ไม่มีความทุรนทุรายกระสับกระส่ายแต่อย่างใด ในภาวะนั้นเขารู้สึกดื่มด่ำเป็นอย่างยิ่งกับธรรมชาติรอบตัวและภูมิประเทศเบื้องล่าง ไม่ว่าทะเลเมฆสีขาวนวล เวิ้งฟ้าสีคราม และทิวเขาเขียวครึ้มข้างล่าง ล้วนงดงามตรึงใจ ระหว่างที่เครื่องกำลังร่อนลดระดับลงมาเรื่อย ๆ นั้น รอบตัวไร้สรรพสำเนียงใด ๆ มีแต่ความเงียบสงบ ภาพที่เห็นผ่านกระจกเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ แต่สงบงัน ในห้วงนั้นเขารู้สึกถึงความสงบและเป็นสุขอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน
         ร่วม ๒๐ นาทีที่เขาได้สัมผัสกับความเบาสบายกลางฟ้า และแล้วสิ่งไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เครื่องยนต์ทำงานอีกครั้ง แต่ก็ดับอีก แล้วก็ติดใหม่ เป็นเช่นนี้ตลอดเวลา นักบินจึงตัดสินใจบังคับเครื่องกลับเชียงใหม่ และแจ้งสนามบินให้เตรียมพร้อม มีการเคลียร์รันเวย์และอพยพผู้คนที่ไม่เกี่ยวข้อง ท่ามกลางความอกสั่นขวัญแขวนของผู้คนที่สนามบิน เครื่องค่อย ๆ ร่อนลงอย่างปลอดภัย
        ช่างเครื่องได้ตรวจพบในเวลาต่อมาว่ามีน้ำเข้าไปในตัวเครื่อง เมื่อซ่อมเครื่องเสร็จเรียบร้อย เพื่อนก็ชวนมารคขึ้นเครื่องบินลำเดิมลงมากรุงเทพ ฯ อีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่เพิ่งรอดตายมาอย่างไม่คาดฝัน มารครับคำชวนของเพื่อน คราวนี้ทั้งสองถึงกรุงเทพ ฯ โดยสวัสดิภาพ

         มารครอดตายมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ แต่ถ้ามองให้ดีแล้วสิ่งที่น่าอัศจรรย์กว่านั้นก็คือการที่เขารู้สึกเป็นสุข และสงบอย่างยิ่งในยามประจันหน้ากับความตาย คนทั่วไปนั้นรู้สึกว่าความตายเป็นเรื่องน่ากลัว แต่ประสบการณ์ของมารคชี้ว่าความตายนั้นไม่น่ากลัว สิ่งที่น่ากลัวต่างหากก็คือความกลัวตาย เมื่อความกลัวตายมลายหายไป ความตายแม้จะอยู่ใกล้เพียงใด ก็ไม่สามารถทำอะไรเราได้ ตรงกันข้ามมันกลับทำให้จิตใจเบาสบายเป็นอย่างยิ่งเพราะได้ปล่อยวางทุกอย่าง
        อะไรก็ตามหากเราหลีกหนีไม่ได้ อ้าแขนต้อนรับมันเป็นดีที่สุด เมื่อมารคยอมรับความตายโดยดุษณี ความตายก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป ใช่หรือไม่ว่าสาเหตุที่เรากลัวความตายก็เพราะเรายึดอะไรต่ออะไรอีกมากมาย ในเมื่อไม่อยากสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไป เราจึงทำใจไม่ได้ ใจที่ยังยึดไว้ไม่ยอมปล่อยนี้แหละคือปัญหาเพราะมันเป็นแหล่งบ่มเพาะความกลัว ซึ่งคอยหลอกหลอนซ้ำเติมและสร้างความทุกข์ให้แก่เรา
        สเตฟานีเป็นอีกคนหนึ่งที่ผ่านความตายมาได้อย่างหวุดหวิด วันนั้นเธอขับรถอยู่บนทางด่วน สักพักก็เห็นรถจอดกันยาวเหยียด จึงต่อท้ายคิว เมื่อเหลือบมองกระจกหลัง ก็เห็นรถคันหนึ่งวิ่งมาด้วยความเร็วสูง ไม่มีทีท่าว่าชะลอเลยทั้ง ๆ ที่อยู่ไม่ไกลจากรถของเธอ ดูเหมือนคนขับจะใจลอย เธอรู้ทันทีว่ารถของเธอต้องถูกชนอย่างแน่นอน และคงเป็นการปะทะที่รุนแรงเสียด้วย ชั่วขณะนั้นเองเธอตระหนักว่าตัวเองอาจไม่รอด
วินาทีนั้นเธอก้มลงดูมือทั้งสองซึ่งกำพวงมาลัยไว้แน่น เป็นครั้งแรกที่เธอตระหนักว่าเธอใช้ชีวิตด้วยความเครียดและเกร็งมาโดยตลอด เธอตัดสินใจในตอนนั้นว่า ฉันไม่ต้องการตายแบบนี้ เธอจึงหลับตา หายใจเข้าลึก ๆ และทิ้งมือลงข้างตัว ปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไปตามวิถีของมัน เธอยอมรับความตายโดยไม่ขัดขืน และแล้วรถคันหลังก็พุ่งชนรถของเธออย่างรุนแรงและดังสนั่น
         รถของเธอถูกชนจนยับเยิน ส่วนรถคันหลังก็แหลกไม่มีชิ้นดี แต่เธอกลับไม่เป็นอะไร ตำรวจบอกเธอในเวลาต่อมาว่าโชคดีที่เธอปล่อยตัวตามสบาย หากเธอเกร็งตัว มีโอกาสมากที่จะบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิตเพราะแรงกระแทก
         สเตฟานีก้าวออกจากซากรถราวกับเป็นคนใหม่ เธอใช้ชีวิตด้วยความปล่อยวางมากขึ้น ไม่คิดจะควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามใจปรารถนา และยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตได้มากขึ้น จากคนที่กุมชีวิตไว้แน่น บัดนี้เธอเพียงแค่ประคองมันเอาไว้ ราวกับชีวิตคือขนนกที่วางอยู่บนฝ่ามือ แล้วเธอก็พบว่าตนเองสามารถรื่นย์กับชีวิตได้อย่างแท้จริง
         อุบัติเหตุร้ายแรงได้นำชีวิตใหม่มาให้แก่สเตฟานี แม้ว่าเธอยังประสบกับความสำเร็จสลับกับความล้มเหลวเหมือนเดิม ได้รับคำชื่นชมควบคู่กับคำตำหนิเหมือนเดิม มีได้มีเสียเหมือนคนอื่น ๆ แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือจิตใจ ใจที่อ่อนโยนนุ่มนวลกับชีวิต ไม่คิดบังคับควบคุมทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิต นี้ต่างหากที่ทำให้ชีวิตใหม่บังเกิดขึ้นอย่างแท้จริง 
*******
รวมมิตรจาก http://www.visalo.org